AUTHORS: Utaiwan Chatuporn and Kingkarn Sookhanaphibarn
ABSTRACT: This paper aims at (1) studying relevant factors to expand an experience of museum visitors. (2) Designing and developing an application on online social media. The samples of our study were memberships of the Facebook fan page of Southeast Asian Ceramics Museum and there were 222 people participating in our study. The data analysis included frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, ANOVA and multiple regression analyzing. The results indicated that: The perceived usefulness of technology factors and the perceived ease of use to technology are related to the expansion of museum visitors experience with social media applications in
ผู้แต่ง: อุทัยวรรณ จตุพร และ กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสบการณ์ที่ผู้เข้าชมได้รับจากพิพิธภัณฑ์ (2) การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์สำหรับเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเป็นเครื่องมือในงานวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊คแฟนเพจของพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 222 คน โดยสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของเทคโนโลยีและปัจจัยด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งานเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันกับการเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
moderate level at statistically significant level of 0.01. For the design and development on social media applications, we found the set of features as follows: virtual gallery, item description, visualization of user opinions, link to user’s Facebook page, and souvenir shop. The experimental results shown that the perceived usefulness of social media applications on the museum with 12 respondent samples can expand the experience to the museum visitors at high to highest level in participating celebration ( x = 4.69), learning and aesthetics ( x = 4.61), attractiveness ( x = 4.31), respectively.
Keywords: Facebook application; digital humanities; technology acceptance model (TAM), computer tool SOURCE: อุทัยวรรณ จตุพร, และ กิ่งกาญจน์สุขคณาภิบาล. "การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์." วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23.2 (2015): 333-348.
โปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้วิจัยพัฒนาประกอบด้วยคุณลักษณะดังนี้ คือ แกลลอรี่และการจัดแสดงเสมือน คำบรรยายและรายละเอียดของวัตถุจัดแสดง การแสดงความคิดเห็น การเชื่อมโยงไปยังกลุ่มเพื่อนสมาชิก และการสร้างของที่ระลึก การทดลองการใช้โปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์กับผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์กลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 คน พบ ว่าได้เพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้เยี่ยมชมหลังการใช้งานอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งมีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์ลำดับแรก คือ ด้านการมีส่วนร่วมเฉลิมฉลอง (x=4.69) ลำดับถัดมา คือ ด้านการเรียนรู้และสุนทรียภาพ (x=4.61) และด้านดึงดูดใจ (x=4.31) ตามลำดับ
คำสำคัญ: ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์; พิพิธภัณฑ์; การยอมรับเทคโนโลยี; สื่อสังคมออนไลน์
แหล่งที่มา: อุทัยวรรณ จตุพร, และ กิ่งกาญจน์สุขคณาภิบาล. "การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์." วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 23.2 (2015): 333-348.

การอ้างอิง: 

MLA   อุทัยวรรณ จตุพร, and กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล. "การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์." Thai Science and Technology Journal (2015): 333-348.
APA อุทัยวรรณ จตุพร, & กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล. (2015). การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์. Thai Science and Technology Journal, 333-348.
ISO 690   อุทัยวรรณ จตุพร; กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล. การวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสบการณ์ของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสื่อสังคมออนไลน์. Thai Science and Technology Journal, 2015, 333-348.