หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวัฒน์ เชิญสวัสดิ์
Head of Project: Asst. Prof. Worawat Choensawat (Ph.D.)
 
โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนโน้ตเต้น ซึ่งแนวคิดการใช้โน้ตเต้นในการเรียนนาฎศิลป์ ในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ และยังมีอุปสรรคอยู่มาก ไม่ว่าจะการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้นในการถ่ายทอด ความยากในการจดจำสัญลักษณ์ที่มีจำนวนมาก เป็นต้น ทางคณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่า การที่เราจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรค์นี้ได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นได้ด้วยตนเอง และเครื่องมือเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนสามารถสร้างแบบเรียนโน้ตเต้นของท่าพื้นฐานได้
In this work, a set of educational tools for learning dance notation was developed. The concept of using dance notation is new in Thai’s dance communities, and several obstructions are obviously found such as lack of instructors or experts, a large amount of symbols to remember and the complexity of dance notation. To overcome these barriers, one of the solutions is to use a computer-aided tool to help new learners in understanding the dance notation by themselves and a tool for dance instructors to prepare teaching materials.

 image001

 โครงการวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 วัตถุประสงค์ 1) การพัฒนาเครื่องมือที่สามารถสร้างโน้ตเต้นอัตโนมัติ เพื่ออาจารย์ผู้สอนสามารถนำโน้ตดังกล่าวไปใช้ในการเรียนการสอนได้ 2) การพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเอง และ 3) การประยุกต์ใช้โน้ตเต้นในการเรียนการสอนกระบี่ผ่านการใช้เครื่องมือการเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเองเครื่องมือในการเรียนการสอนโน้ตเต้นเป็นการสร้างแอนิเมชั่นจากโน้ตเต้น เพื่อให้ผู้ใช้เห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ตรงกับสัญลักษณ์ของแต่ละตัวโน้ต เครื่องมือนี้มีฟังก์ชันที่สำคัญคือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้าง ปรับแต่งโน้ตเต้น และแอนิเมชั่นที่สามารถสร้างขึ้นอย่างเรียลไทม์

เครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ต่อไปนี้ นักเต้นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ Labanotation จะสามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายและแปลงให้เป็น Labanotation ได้ นักเต้นที่สามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายของพวกเขาและแปลงให้เป็น Labanotation เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยจำได้ ครูสอนเต้นรำที่สามารถใช้ระบบในการจัดทำสื่อการสอนได้ และนักออกแบบท่าเต้นที่สามารถใช้ระบบในการบันทึกความคิดเกี่ยวกับการออกแบบท่าเต้นสำหรับการแสดงได้

การนำเครื่องมือทั้งสองที่กล่าวข้างต้นมาประยุกต์ใช้กับท่ารำไม้กระบี่ของไทย คณะผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาตัวละครและฉากหลังสำหรับการรำกระบี่ วิเคราะห์และศึกษาสัญลักษณ์โน้ตเต้นเพื่อประดิษฐ์สัญลักษณ์ที่เฉพาะสำหรับท่ารำไม้ เช่น สัญลักษณ์ของท่าถือกระบี่ เป็นต้น การนำสัญลักษณ์ของมือในนาฎศิลป์มาใช้ เช่น ตั้งวง จีบ เป็นต้น

  

This research is divided into three sub-tasks as follows: 1) a development of automatic generating dance notation software for instructors to prepare dance score in their teaching classes, 2) a development of a computer-aided tool so that beginners can study the dance notation by themselves, and 3) an application of self-learning software in teaching and studying the fundamental of standard dance notation for "Krabi" performing arts. The former tool for generating dance notation (Labanotation) helps choreographers to create dance score for motion captured data. The innovation parts of this tool are the body movement analysis and the key posture extraction that can be used with a cost effective hardware. The latter tool for studying Labanotation allows learners to prepare Labanotation scores and displaying 3D animation associated with the scores. The key function of the tool is the graphical user interface (GUI) in which users can prepare and edit dance scores and a function that enable them to see the dance movement of the score via computer animation in real time.

Our both tools will be beneficial to the following groups of people:

1) Learners of Labanotation basics: after studying Labanotation basics with textbooks, learners can confirm the actual body motion by using character animation generated from the score.

2) Dance researchers and dancers who want to use Labanotation in dance education/research: the tool provides them a function to prepare dance score for body movement.

3) Choreographers: the cycle of description of movement and successive confirmation of motion makes the choreographing process more effective.

บทสรุปผู้บริหาร (Exclusive summary)

สิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะของผู้เรียน ไม่เพียงแต่มุ่งให้ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่การส่งเสริมการเรียนการสอนด้านศิลปะการแสดงและนาฏศิลป์ ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ศิลปะการแสดงและนาฏศิลป์นี้ยังเป็นศิลปวัฒนธรรมไทยที่จำเป็นต้องได้รับการอนุรักษ์และสืบทอดรุ่นต่อรุ่น งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและคุณลักษณะของผู้เรียนด้วยศิลปะการรำ เช่น นาฏศิลป์ รำกระบี่ รำมวยไทย เป็นต้น

นาฏศิลป์เป็นการเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะของดนตรี โดยผู้เรียนใช้การจดจำท่ารำจากครูผู้สอนซึ่งสาธิตการขยับร่างกายเข้าจังหวะและให้ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผลของการเรียนรู้แบบนี้ขึ้นกับพรสวรรค์ของผู้เรียนและประสบการณ์ของครูผู้สาธิต เมื่อเปรียบเทียบกับการเล่นดนตรี ผู้เรียนและผู้สอนใช้โน้ตดนตรีเป็นภาษากลางในการสื่อสารแทนการสาธิตเพียงอย่างเดียว การใช้โน้ตดนตรีจึงช่วยส่งสริมศักยภาพของผู้เรียนให้มีความสามารถทางดนตรีในระดับ  สำหรับนาฏศิลป์แบบตะวันตก (เช่น บัลเลต์) ได้มีการคิดค้นโน้ตเต้นที่เรียกว่าลาบานโนเทชัน (Labanotation) หรือระบบลานเพื่อใช้ในการบันทึกท่าเต้นประกอบจังหวะ การเรียนการสอน และการออกแบบท่าเต้น เป็นต้น

ข้อได้เปรียบของการใช้โน้ตเต้นคือ 1) การบันทึกท่ารำที่เป็นผลงานของผู้ประพันธ์และเป็นระบบมาตรฐานสากล 2) ผู้ประพันธ์สามารถสร้างสรรค์ผลงานและบันทึกลงในกระดาษ ซึ่งสะดวกกว่าการอัดวีดิทัศน์หรือวาดภาพประกอบ 3) ผู้แสดง (ผู้เต้นรำ) สามารถใส่ลูกเล่นเช่นเดียวกับการเล่นดนตรี ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานการแสดงที่แตกต่างกันในการใช้โน้ตเต้นเดียวกัน และ 4) การอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะการเต้นรำอย่างเป็นระบบมาตรฐานสากล

แนวคิดการใช้โน้ตเต้นในการเรียนนาฎศิลป์ ในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ และยังมีอุปสรรคอยู่มาก ไม่ว่าจะการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้นในการถ่ายทอด ความยากในการจดจำสัญลักษณ์ที่มีจำนวนมาก และผู้เริ่มต้นเรียนโน้ตอาจเกิดความท้อแท้เพราะความซับซ้อนของโน้ตเต้น ซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ ส่วนของร่างกายที่เคลื่อนไหว ระดับความสูงและทิศทางการเคลื่อนที่ของส่วนของร่างกาย จังหวะการเคลื่อนที่ (จังหวะต่อ 1 ห้องดนตรี) และระยะเวลาของท่าทางการเคลื่อนที่ ดังนั้นการเรียนโน้ตควรเริ่มต้นจาก การสอนท่าเต้นรำพร้อมแสดงตัวโน้ตกำกับเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคยและตัวโน้ตแต่ละตัวพร้อมกับท่ารำประกอบ นอกจากนี้ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในช่วงเริ่มต้นของการบันทึกท่ารำด้วยโน้ตเต้น คือการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้น และการบันทึกโน้ตเต้นของไทยไม่เป็นรูปแบบสากล

งานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาด้วย 1) การพัฒนาซอฟต์แวร์การสร้างโน้ตเต้นพื้นฐานจากข้อมูลโมชั่นแคปเจอร์อย่างอัตโนมัติ พร้อมๆกับ 2) การพัฒนาซอฟต์แวร์การเรียนรู้ท่ารำด้วยตนเอง โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้จดจำโน้ตเต้นและท่าทางการเคลื่อนไหวร่างกายซึ่งสามารถฝึกปฏิบัติได้ด้วยตนเอง และ/หรือนำมาใช้ในชั้นเรียนประกอบการสอน และ3) การพัฒนาคู่มือการเรียนการสอนโน้ตเต้นควบคู่กับท่ารำไม้ (กระบี่)

โครงการวิจัยนี้ได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนโน้ตเต้น ซึ่งแนวคิดการใช้โน้ตเต้นในการเรียนนาฎศิลป์ ในประเทศไทยยังเป็นเรื่องใหม่ และยังมีอุปสรรคอยู่มาก ไม่ว่าจะการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านโน้ตเต้นในการถ่ายทอด ความยากในการจดจำสัญลักษณ์ที่มีจำนวนมาก เป็นต้น ทางคณะผู้วิจัยเล็งเห็นว่า การที่เราจะสามารถก้าวข้ามอุปสรรค์นี้ได้ จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นได้ด้วยตนเอง และเครื่องมือเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนสามารถสร้างแบบเรียนโน้ตเต้นของท่าพื้นฐานได้ โครงการวิจัยนนี้แบ่งออกเป็น 3 วัตถุประสงค์ได้แก่

1) การพัฒนาเครื่องมือที่สามารถสร้างโน้ตเต้นอัตโนมัติ เพื่ออาจารย์ผู้สอนสามารถนำโน้ตดังกล่าวไปใช้ในการเรียนการสอนได้

2) การพัฒนาเครื่องมือเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเอง และ

3) การประยุกต์ใช้โน้ตเต้นในการเรียนการสอนกระบี่ผ่านการใช้เครื่องมือการเรียนรู้โน้ตเต้นด้วยตนเอง

สำหรับวัตถุประสงค์แรก ทางผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่สามารถสร้างโน้ตเต้นอัตโนมัติ ที่ช่วยนักออกแบบท่าเต้นหรืออาจารย์ผู้สอนการเต้นสามารถสร้างโน้ตเต้น Labanotation จากข้อมูลการบันทึกความเคลื่อนไหวได้ ซึ่งโดยปกติแล้วการจดบันทึกนำโน้ตเต้นจะเป็นการบันทึกลงกระดาษซึ่งต้องใช้ทักษะและระยะเวลาอย่างมาก  องค์ประกอบที่เป็นนวัตกรรมของเครื่องมือนี้คือมีการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวร่างกายและการแบ่งนับท่าทางต่างๆ เพื่อที่จะแปลงเป็นโน้ตเต้นที่สามารถนำมาใช้กับฮาร์ดแวร์ที่ราคาไม่สูงนักได้  ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าวิธีการและคุณภาพของโน้ตเต้น Labanotation มีประสิทธิภาพและใช้งานได้  ด้วยการที่ Labanotation มีความละเอียดไม่มาก ผู้ใช้แต่ละคนก็อาจตีความหมายของสัญลักษณ์ต่างกันไป เครื่องมือที่นำเสนอนี้มี Graphical User Interface (GUI) สำหรับตั้งค่าต่างๆ ให้กับผู้ใช้ได้ทำการตั้งค่าสัญลักษณ์ได้ เช่น เกณฑ์องศาที่กำหนด ทิศทางการเคลื่อนไหว และระดับในความสูง เช่นยกมือในระดับ สูง กลางและต่ำ คณะผู้วิจัยมีความมั่นใจว่าเครื่องมือนี้เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ต่อไปนี้

1) นักเต้นมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ Labanotation จะสามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายและแปลงให้เป็น Labanotation ได้

2) นักเต้นสามารถบันทึกการเคลื่อนไหวร่างกายของพวกเขาและแปลงให้เป็น Labanotation เพื่อใช้เป็นเครื่องช่วยจำได้

3) ครูสอนเต้นรำที่สามารถใช้ระบบในการจัดทำสื่อการสอนได้

4) นักออกแบบท่าเต้นที่สามารถใช้ระบบในการบันทึกความคิดเกี่ยวกับการออกแบบท่าเต้นสำหรับการแสดงได้

ในส่วนของวัตถุประสงค์ที่ 2 งานวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือการเรียนการสอนโน้ตเต้นด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้เรียนเห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ตรงกับสัญลักษณ์ของแต่ละตัวโน้ต เครื่องมือนี้มีฟังก์ชันที่สำคัญคือ GUI ที่ให้ผู้เรียนสามารถสร้าง ปรับแต่งโน้ตเต้น และดูแอนิเมชั่นที่สามารถสร้างขึ้นอย่างเรียลไทม์ โดยมีฟังก์ชันการทำงานที่สำคัญเหมาะกับผู้เริ่มเรียนโน้ตเบื้องต้นดังนี้ GUI สำหรับผู้ใช้ในการสร้างโน้ตเต้น โดยใช้เม้าส์ในการคลิก ลาก และขยายสัญลักษณ์โน้ตเต้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้ง่ายและรวดเร็ว ซอฟต์แวร์นี้รองรับการสร้างโน้ตเต้นสำหรับนักแสดงหนึ่งคน โดยโน้ตเต้นที่ป้อนเข้าระบบอาจมาจากผู้ใช้เป็นผู้สร้างขึ้นเอง หรือว่าได้จากซอฟต์แวร์การสร้างโน้ตอัตโนมัติ (ในวัตถุประสงค์ที่ 1 นอกจากนี้ยังได้พัฒนาเครื่องมือนี้ให้รองรับกับท่ารำไม้กระบี่ของไทย โดยคณะผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาตัวละครและฉากหลังสำหรับการรำกระบี่ วิเคราะห์และศึกษาสัญลักษณ์โน้ตเต้นเพื่อประดิษฐ์สัญลักษณ์ที่เฉพาะสำหรับท่ารำไม้ เช่น สัญลักษณ์ของท่าถือกระบี่ เป็นต้น การนำสัญลักษณ์ของมือในนาฎศิลป์มาใช้ เช่น ตั้งวง จีบ เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ใช้ต่อไปนี้

1) นักเรียนที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้ Labanotation จะสามารถดูแอนิเมชั่นจากตัวโน้ตที่ได้สร้างไว้ ซึ่งผู้ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจตัวโน้ตมากยิ่งขึ้น

2) ครูสอนเต้นรำที่สามารถใช้เครื่องมือนี้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้

สำหรับวัตถุประสงค์ที่ 3 การวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์การเรียนรู้ด้วยตนเองในการเรียนการสอนพื้นฐานโน้ตเต้นสากลกับการแสดงศิลปะการรำกระบี่มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์การเรียนรู้ด้วยตนเองใน การเรียนการสอนพื้นฐานโน้ตเต้นสากลกับการแสดงศิลปะการรำกระบี่ ในชั้นเรียนระหว่างกลุ่มผู้เรียนที่ได้เรียนรู้โดยใช้ซอฟต์แวร์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การได้มาของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คณะผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive  Sampling) โดยคัดเลือกจากความเหมาะสมของผู้เข้ารับการอบรมโดยมีเกณฑ์การคัดนิสิตที่จะเก็บผลลัพธ์การเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการทดลองออกไปโดยมีเกณฑ์การคัดนักศึกษาเพื่อเก็บผลลัพธ์การเรียนรู้ไปใช้ในการทดลองดังนี้

1) เป็นนิสิตเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ที่จะต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภาคการศึกษาที่ 1

2) มีผลการทดสอบผลลัพธ์ทางการเรียนด้านทักษะกีฬากระบี่ครบทุกรายการทั้งก่อนและหลังการทดลอง

3) สำหรับกลุ่มทดลองมีคลิปวิดีโอการแสดงทักษะกีฬากระบี่ที่มอบหมายครบตามจำนวนข้อที่ระบุไว้ในแบบทดสอบผลลัพธ์การเรียนรู้

สำหรับผลการเรียนรู้ตัวโน้ต มีดังนี้ ผู้เรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 147.5 เมื่อใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ตัวโน้ต (คะแนนเฉลี่ยก่อน 3.83 คะแนน คะแนนเฉลี่ยหลัง 9.49 คะแนน โดยได้คะแนนเพิ่มขึ้น เฉลี่ย 5.67 คะแนน) ผู้เรียนสามารถเขียนตัวโน้ตพื้นฐานได้ในเกณฑ์ พอใช้ 8%, ดี 30% และ ดีมาก 42%

สำหรับผลการเรียนรู้ทักษะกระบี่ ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ท่ารำกระบี่และไม่เคยเรียน 85% ผู้เรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 122.8 เมื่อใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ตัวโน้ต (คะแนนเฉลี่ยก่อน 1.30 คะแนน คะแนนเฉลี่ยหลัง 2.9 คะแนน ได้คะแนนเพิ่มขึ้น 1.5 คะแนน) ผู้เรียนสามารถเข้าใจตัวโน้ตของท่ารำกระบี่ได้ในเกณฑ์ เขียนตัวโน้ตพื้นฐานได้ในเกณฑ์ นักศึกษาสามารถเข้าใจท่าพื้นฐาน 67%

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานวิจัยต่อเนื่องนั้นมีทิศทางในการวิจัย 2 ทิศทาง ดังนี้

1) การขยายระบบให้รองรับสัญลักษณ์ Labanotation ได้มากขึ้น และจัดทำการประเมินอย่างละเอียดในระดับที่กว้างขึ้น

2) การประยุกต์ใช้ระบบที่นำเสนอนี้ไปใช้กับการบันทึกสัญลักษณ์การเต้นรำแบบอื่นด้วย เช่น การจดบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วยระบบเบเนช (Benesh Notation เป็นระบบโน้ตเต้นที่ใช้กับการเต้นบัลเลต์) เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้เป้าหมายได้มากขึ้นและทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของระบบการจดบันทึกการเคลื่อนไหวทั้งสองระบบ แต่ในการเปรียบเทียบนับว่าเป็นเรื่องที่ยากมากเพราะกลุ่มผู้ใช้ที่มีความคุ้นเคยกับทั้งสองระบบมีน้อยมากและไม่ค่อยพบมากนัก

 

This project is fully supported by Thailand Research Fund (TRF) and National Research Council of Thailand (NRCT) in 2015.โครงการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายชุมชนและสังคม (สกว.) และ สำนักคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใน ปี 2558