ข่าวกิจกรรมNEWS

<thai>โครงการวิจัยหน่วยผู้ใช้</thai> <eng>User Unit Research Project</eng>

โครงการวิจัยหน่วยผู้ใช้ User Unit Research Project

ทีมนักวิจัย BUMIT ได้ดำเนินการโชว์ผลงาน ณ. ศปภอ.ทบ. ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศ ดอนเมือง โดยผลงานที่นำมาจัดแสดงคือ AADS และ Aircraft Recognition using Virtual Reality 
IEEE GCCE 2021 Excellent Demo! Award, Gold Prize

IEEE GCCE 2021 Excellent Demo! Award, Gold Prize

IEEE GCCE 2021 Excellent Demo! Award, Gold Prize
 
Gold Prize
  • Tannop Sangvanloy (Bangkok University, Thailand): "Toward a PCG-Driven 3D Game for Preclinical Detection of Dementia"
อบรม jaddin

อบรม jaddin

มีการจัดอบรมการใช้งาน Joint Air Defense Digital Information Network (JADDIN)

งานวิจัยResearch

<thai>ระบบการตรวจจับและเตือนภัยแอปพลิเคชั่นอันตรายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่</thai><eng>A Detection and Warning System of Malicious Applications on Mobile Devices</eng>

ระบบการตรวจจับและเตือนภัยแอปพลิเคชั่นอันตรายบนโทรศัพท์เคลื่อนที่A Detection and Warning System of Malicious Applications on Mobile Devices

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

Head of Project: Asst. Prof. Kingkarn Sookhanaphibarn (Ph.D.)

โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการตรวจจับมัลแวร์ที่ฝังตัวกับแอปพลิเคชั่นปกติ ซึ่งจะไม่แสดงพฤติกรรมที่น่าสงสัยและเป็นอันตรายในตอนต้น และเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจจับโค้ดอันตรายบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

<thai>การตรวจจับโค้ดที่เป็นอันตรายบนระบบปฏิบัติการมือถือ</thai><eng>Detection of Malicious Code on Mobile Operating Systems</eng>

การตรวจจับโค้ดที่เป็นอันตรายบนระบบปฏิบัติการมือถือDetection of Malicious Code on Mobile Operating Systems

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

Head of Project: Asst. Prof. Kingkarn Sookhanaphibarn (Ph.D.)

งานวิจัยนี้ได้นำเสนอการใช้แบบจำลองการตรวจจับโค้ดอันตรายบนระบบปฏิบัติการของมือถือ โดยใช้ทฤษฏีการเรียนรู้ของเครื่องมีเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดตั้งโปรแกรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ ของผู้ใช้ที่ไม่ได้อัพเดตโปรแกรมแอนติไวรัสทันเวลาThis research presents a model for malware detection on mobile operating system based on machine learning technique. The objective is to reduce the risk of installing harmful application when the user did not update the anti-virus program in time.

Research Project on Cybersecurity

Research Project on Cybersecurity

Research Project on Cybersecurity


1.     Detection and monitoring malicious applications on android mobile devices (funding by the national broadcasting and telecommunication commission : NBTC during 2016-2017)

ผลงานPublications

School Bus Platform for Integrating in a School Van to Avoid Trapped Kindergarten Students

School Bus Platform for Integrating in a School Van to Avoid Trapped Kindergarten Students

AUTHORS: Bandit Tirasatian, Arthikhun Rattanaprueksachart, Worawat Choensawat and Kingkarn Sookhanaphibarn

ABSTRACT: In this paper, we present a use of the current technology to solve a problem of the child being left in a school bus by using a Bluetooth Low Energy (BLE) device to check aboard passengers and installing a Raspberry Pi with a camera and a mic in the vehicle. All devices are connected via a mobile application developed with the following features such as location status tracking, passenger monitoring, warning notification.

Smart School Bus.

Smart School Bus.

 

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

Head of Project: Asst. Prof. Kingkarn Sookhanaphibarn (Ph.D.)

การขนส่งมวลเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวัน ในประเทศที่พัฒนาระบบขนส่งมวลชนที่ได้มาตรฐาน แม้ผู้ใช้งานจะเป็นเด็ก, คนพิการ หรือผู้สูงอายุก็สามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึง ในปัจจุบันขนส่งมวลชนของประเทศไทยยังคงอยู่ในระหว่างการพัฒนาและพบเจอกับปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น ด้านความปลอดภัย ด้านเวลา ด้านความทั่วถึง เป็นต้น จากปัจจัยข้างต้นโดยเฉพาะด้านความปลอดภัยทำให้ตัวเลือกในการเดินทางไปสถานศึกษาของนักเรียนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา มีตัวเลือกไม่มากนัก เช่น ผู้ปกครองไปรับ-ไปส่ง หรือ ใช้บริการรถรับ-ส่งนักเรียนที่มีบุคคลคอยดูแล ซึ่งบริการรถรับ-ส่งในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะเป็นรถตู้หรือรถกระบะเสริมหลังคา

ทำให้มีผู้ปกครองจำนวนมากที่ยังมีความกังวลในการใช้บริการรถรับ-ส่งนักเรียนของไทยเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลจากการรวบรวมข่าวและสถิติของกรมควบคุมโรคตั้งแต่ปี 2557–2563 มีเด็กถูกลืมไว้ในรถมากกว่า 129 เหตุการณ์ มีเด็กที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ 6 ราย โดยเด็กที่เสียชีวิตมีอายุเฉลี่ย 2–6 ปี อีกทั้งด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นของประเทศไทย หากจอดรถทิ้งไว้กลางแดด เพียง 30 นาที อวัยวะทุกอย่างจะเริ่มหยุดทำงานและอาจเสียชีวิตได้ แต่เวลาเฉลี่ยในการเจอเด็กหลังถูกลืมอยู่ที่ 6 ชั่วโมง จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เมื่อศึกษาลงรายละเอียดในแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นจะพบว่ามักเกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์แม้ว่าจะมีคนคอยดูแลอย่างใกล้ชิด หรือปฏิบัติตามมาตราการป้องกันอย่างเข้มงวดก็ตาม อีกทั้งรถรับ-ส่งนักเรียนของส่วนใหญ่ของไทยจะมีมุมอับ ที่เสี่ยงต่อการลืมเด็กได้ง่าย เช่น แถวหลังที่สุดของรถตู้ หรือ ที่นั่งหลังคนขับของรถกระบะ

ในโปรเจคนี้เราต้องการนำเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาและลดการเกิด Human Error โดยมีจะการใช้อุปกรณ์ประเภท Bluetooth Low Energy(BLE) ในการตรวจเช็คผู้โดยสาร และติดตั้งบอร์ด Raspberry Pi ที่มีกล้องและไมค์ในรถตู้ เพื่อใช้ในตรวจจับการเคลื่อนไหว ตรวจจับเสียง และใช้ในการถ่ายภาพเหตุการณ์ภายในรถ โดยทั้งหมดเชื่อมต่อกันผ่าน Mobile Application ที่พัฒนาขึ้นโดยมีฟังก์ชันสำคัญต่าง ๆ เช่น ติดตามสถานะ, รูปถ่ายในรถ, การแจ้งเตือนเมื่อเกิดเหตุการณ์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อ ทั้งหมดเพื่อให้ตอบสนองต่อเป้าหมายของงานวิจัย ในการสร้างมาตรฐานใหม่ของรถรับ-ส่งนักเรียนเพื่อลดการเสียชีวิตของเด็ก สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีและสร้างความมั่นใจให้กับทุกภาคส่วน

Voice Recognition for detecting trapped kindergarden students in school bus

Voice Recognition for detecting trapped kindergarden students in school bus

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิ่งกาญจน์ สุขคณาภิบาล

Head of Project: Asst. Prof. Kingkarn Sookhanaphibarn (Ph.D.)

โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการตรวจจับมัลแวร์ที่ฝังตัวกับแอปพลิเคชั่นปกติ ซึ่งจะไม่แสดงพฤติกรรมที่น่าสงสัยและเป็นอันตรายในตอนต้น และเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจจับโค้ดอันตรายบนอุปกรณ์เคลื่อนที่